อารยธรรมอินเดีย
ในการศึกษาอารยธรรมโบราณของอินเดีย
สิ่งหนึ่งที่เราพบก็คือความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอินเดียตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดูเหมือนว่าอารยธรรมที่สำคัญ
ๆ ของโลกนี้จะมีอารยธรรมอินเดียและจีนเท่านั้นที่ยังคงประพฤติ ปฏิบัติกันอยู่เหมือนเช่นพันปีที่ผ่านมา
ในทางตรงข้ามหากเราพิจารณาอารยธรรมเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก เราจะพบการเสื่อมสลายขาดความต่อเนื่องของอดีตกับปัจจุบันในอินเดียปัจจุบันเรายังคงเห็นและได้ยินการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่ใช้บทสวด
ซึ่งเคยใช้กันมานับพันปี เรายังคงเห็นว่าประชาชนของอินเดียเคร่งครัดต่อคติ ค่านิยม
หรือกฎเกณฑ์อันเนื่องมาจากการจัดระเบียบทางสังคมหรือระบบวรรณะอย่างไรก็ตามการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณของอินเดียนั้นมิได้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง
จนกระทั่งช่วง
หลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านี้เรื่องราวของอินเดียโบราณปรากฏอยู่ในเอกสารของกรีก ซึ่งก็ปรากฏอยู่น้อยมาก
ผู้ศึกษาเรื่องราวของอินเดียในยุคแรก ๆ นั้นเป็นพวกมิชชันนารี ซึ่งประสบความสำเร็จในการศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต
แต่ก็มิได้ทำให้เข้าใจอดีตของอินเดียอย่างแท้จริง เพราะมิชชันนารีศึกษาเฉพาะสิ่งที่เขากำลังเผชิญหน้าอยู่เท่านั้นการศึกษาเรื่องราวของอินเดียตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่
18 จนกระทั่งมาถึงต้น ๆ
คริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้นส่วนใหญ่จะเป็น การศึกษา ภาษา วรรณกรรม มีการแปลวรรณกรรมสำคัญ ๆของอินเดีย
เช่น ภควัตคีตา จึงทำให้ไม่ได้ภาพของอินเดียที่แท้จริง บางกรณีก็ยังเชื่อว่า อารยธรรมอินเดียเริ่มต้น
และเกิดขึ้นโดยชาวอารยัน
กระทั่งศตวรรษที่ 20 การขุดค้นทางโบราณคดีอย่างจริงจัง จึงเกิดขึ้น มีการจัดตั้งกองโบราณคดีโดยมี
Sir John Marshall เป็นผู้อำนวยการ และหลังจากนั้นการขุดค้นอย่างมีระบบก็เกิดขึ้น
ผลงานที่ยิ่งใหญ่ของกองโบราณคดีนี้ก็คือ การค้นพบอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ในปี
1924การค้นพบอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์โบราณของอินเดียทำให้เราได้เรียนรู้ภาพของอินเดียที่แท้จริง
ทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมของอินเดียชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะพัฒนาการด้านศาสนา ซึ่งยังคงมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน
อินเดียเป็นต้นสายธารทางวัฒนธรรมของชาติตะวันออก (
ชนชาติในทวีปเอเชีย ) หลายชาติ เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก
บางทีเรียกว่า “แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ” (
Indus Civilization ) อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดียได้ดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะของอินเดียเริ่มเมื่อผู้คนรู้จักใช้ทองแดงและสำริด
เมื่อประมาณ 2,500
ปี ก่อนคริสต์ศักราช และรู้จักใช้เหล็กในเวลาต่อมา
พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง
ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
(1)
เมืองโมเฮนโจ ดาโร ( Mohenjo Daro ) ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
เมืองโมเฮนโจ ดาโร
(2) เมืองฮารับปา ( Harappa ) ในแคว้นปันจาป
ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
เมืองฮารับปา
2. สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ 700 ปี
ก่อนคริสต์ศักราช โดยชนเผ่าอินโด – อารยัน ( Indo –
Aryan ) ซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา
สมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้
สมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้
อักษร บรามิ ลิปิ
(1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การถือกำเนิดตัวอักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า “บรามิ ลิปิ” ( Brahmi lipi ) เมื่อประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์คุปตะ ( Gupta ) เป็นยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
(2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่เมื่อราชวงศ์คุปะสิ้นสุดลง
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์มุสลิมสถาปนาราชวงศ์โมกุล ( Mughul ) และเข้าปกครองอินเดีย
(3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์โมกุล
ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี
ค.ศ. 1947
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ( ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม “กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่ ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ – ดาโร และเมืองฮารัปปา ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า “ทราวิฑ” หรือพวกดราวิเดียน ( Dravidian )
อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ( ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม “กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่ ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ – ดาโร และเมืองฮารัปปา ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า “ทราวิฑ” หรือพวกดราวิเดียน ( Dravidian )
2. สมัยพระเวท ( ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช
) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน ( Indo-Aryan
) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียกลาง
เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้นเมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย
สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์
หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท”
ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์
นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง
คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์
3. สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 600-300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 2 ศาสนา
คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน
4. สมัยจักรวรรดิเมารยะ ( Maurya ) ประมาณ
321-184 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่นภายใต้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกของอินเดีย
สมัยราชวงศ์เมารยะ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง
โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ( Asoka ) ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนทั้งใกล้และไกล
รวมทั้งดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี
5. สมัยราชวงศ์กุษาณะ ( ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช
– ค.ศ.320 ) พวกกุษาณะ (Kushana
) เป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ
กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ
รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ
โดยเฉพาะด้านการแพทย์
นอกจากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ( นิกายมหายาน ) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์
นอกจากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ( นิกายมหายาน ) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์
6. สมัยจักรวรรดิคุปตะ ( Gupta ) ประมาณ
ค.ศ.320-550 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง
ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน
ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา
ตลอดจนการค้าขายกับต่างประเทศ
7. สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย ( ค.ศ.550
– 1206 ) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก
ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง
8. สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206-1526
) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย
มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี
9. สมัยจักรวรรดิโมกุล ( Mughul ) ประมาณ
ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์
ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง
ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย
โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858 กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่
คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช ( Akbar ) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก
ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ( Shah Jahan ) ทรงสร้าง “ทัชมาฮัล” ( Taj Mahal ) ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก
เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดียและเปอร์เซียที่มีความงดงามยิ่ง
อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก
บางทีเรียกว่า แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดียได้ดังนี้
- สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ
คือ
- เมืองโมเฮนโจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
- เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
- สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน
ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค
- ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษร บรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์ คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา
ได้ถือกำเนิดแล้ว
- ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึง
ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย
- ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
เมืองฮารับปา
สุสานทัชมาฮาล
อารยธรรมอินเดีย
- อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
- เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเผ่าดราวิเดียน
- ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง
โมเฮนโจดาโร และเมืองฮารับปา
- สมัยพระเวท
- เป็นอารยธรรมชนเผ่าอารยัน
ที่เข้ายึดครองดราวิเดียนหรือชาวทราวิฑที่ถูกขับไล่ให้ถอยร่นลงทางใต้
- ชาวอารยันให้กำเนิดศาสนาพราหมณ์
และ ระบบวรรณะ 4
- วรรณกรรมสำคัญในยุคนี้
ได้แก่
- คัมภีร์พระเวท
เป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ ใช้วิธีท่องจำต่อๆกันมา ประกอบด้วย 4 คัมภีร์คือ ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท และ อาถรรพเวท
- มหากาพย์รามายณะ
สันนิษฐานว่าแสดงถึงการต่อสู้ระหว่างชาวอารยัน(พระราม) กับชาวทราวิฑ
(ทศกัณฑ์) แต่งโดยฤษีวาลมิกิ
- มหากาพย์มหาภารตยุทธ
ว่าด้วยการต่อสู้ของพี่น้องสองตระกูล (ปานฑพ-เการพ)
- คัมภีร์ธรรมศาสตร์
ซึ่งเป็นทั้งกฎหมาย ศาสนบัญญัติ จารีตประเพณี หลักศีลธรรม
ตรีมูระติ
เทพเจ้าของอินเดีย
- สมัยพุทธกาล
- เกิดศาสนาพุทธ
และมีการใช้ภาษาบาลี (มคธ)
- เกิดศาสนาเชน
ผู้ก่อตั้งคือ วรรธมาน มหาวีระ
- สมัยราชวงศ์เมารยะ
- พระเจ้าจันทรคุปต์
ได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่น
- เริ่มการปกครองโดยรวบอำนาจไว้ที่กษัตริย์และเมืองหลวง
- พระเจ้าอโศกมหาราช
ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแว่นแคว้นต่างๆ
- หลังราชวงศ์เมารยะล่มสลาย
เกิดการแตกแยกเป็นแว่นแคว้น
- สมัยราชวงศ์กุษาณะ
- พวกกุษาณะเป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกราน
และตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ
- ด้านการแพทย์เจริญมากในสมัยพระเจ้ากนิษกะ
- ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานที่จีนและธิเบต
- สมัยราชวงศ์คุปตะ
- พระเจ้าจันทรคุปต์ที่
1
ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง
- เป็นยุคทองของอินเดียทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม
การเมือง ปรัชญา ศาสนา
- สมัยจักรวรรดิโมกุล
- พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม
- เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย
- พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน
และทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ
- พระเจ้าซาร์
เจฮัน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนาอิสลาม เป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล ที่มีความงดงามยิ่ง
- สมัยอาณานิคมอังกฤษ
- ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล
กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก
และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง
- เกิดความแตกแยกภายในชาติ
เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย
- ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ
- สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ
- รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย
แบบรัฐสภา
- การศาล
การศึกษา
- ยกเลิกประเพณีบางอย่าง
เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามีตาย)
- สมัยเอกราช
- หลังสงครามโลกครั้งที่
2
ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี และ เยาวราลห์
เนห์รู เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช
- มหาตมะ
คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ)
ในการเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ
- หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
- แต่จากความแตกแยกทางเชื้อชาติและศาสนาทำให้อินเดียต้องแตกแยกเป็นอีก
2
ประเทศคือ ปากีสถาน(เดิมคือปากีสถานตะวันตก)และบังคลาเทศ
(ปากีสถานตะวันออก)
อีกมุมมองหนึ่งของสุสานทัชมาฮาล
ศิลปกรรมอินเดีย มักเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา
- ด้านสถาปัตยกรรม
- ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร
ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี
มีสาธารณูประโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา
ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
- ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา
สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)
- สุสานทัชมาฮาล
สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย
- ด้านประติมากรรม เกี่ยวข้องกับศาสนา
- พระพุทธรูปแบบคันธาระ
- พระพุทธรูปแบบมถุรา
- พระพุทธรูปแบบอมราวดี
- ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม
ได้รับการยกย่องว่ามหัศจรรย์
- จิตรกรรม
- สมัยคุปตะ
และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ
ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ
ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง
- นาฏศิลป์
- เกี่ยวกับการฟ้อนรำ
เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท
- สังคีตศิลป์
- ทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ถือเป็นแบบแผนการร้องที่เก่าแก่ที่สุดใน สังคีตศิลป์ของอินเดีย แบ่งเป็นดนตรีศาสนา ดนตรีในราชสำนักและดนตรีท้องถิ่นเครื่องดนตรีสำคัญ คือ วีณา หรือพิณ ใช้สำหรับดีด เวณุ หรือขลุ่ย และกลอง
พระพุทธรูปแบบอมราวดี
พระพุทธรูปแบบคันธาระ
พระพุทธรูปแบบมถุรา
การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
แพร่ขยายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชีย โดยผ่านทางการค้า ศาสนา การเมือง
การทหาร
และได้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมของแต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมสังคมนั้นๆ
ในเอเชียตะวันออก
พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชาวจีนทั้งในฐานะศาสนาสำคัญ และในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน
ภูมิภาคเอเชียกลาง
อารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอดให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่อพวกมุสลิมอาหรับ
ซึ่งมีอำนาจในตะวันออกกลางนำวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์
คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันอินเดียก็รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เชียและกรีก
โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ประติมากรรม เช่น
พระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็นอิทธิพลจากกรีก ส่วนอิทธิพลของเปอร์เชีย
ปรากฏในรูปการปกครอง สถาปัตยกรรม เช่น พระราชวัง
การเจาะภูเขาเป็นถ้ำเพื่อสร้างศาสนสถาน
ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์
และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนำอารยธรรมมาเผยแพร่
อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา ความเชื่อ การปกครอง
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ ได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้
ภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำอชันตะ
อ้างอิง
อารยธรรมอินเดียโบราณ.เข้าถึงได้จาก:http://www.learners.in.th/blogs/posts/492124 ,
สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2556
อารยธรรมอินเดีย.เข้าถึงได้จาก:http://ancientsocial.exteen.com/page-1,
สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2556